
หลายๆ คน เมื่อได้ยินคำว่า “โลกร้อน” มักนึกถึงน้ำแข็งละลายและหมีขั้วโลก และอาจคิดว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ไกลตัว วันนี้ CCCL จะมาเล่าให้ทุกคนฟังว่าผลกระทบของสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไม่ได้ไกลตัวอย่างที่ทุกคนคิด
สถาบัน McKinsey Global Institute รายงานว่าภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้จะได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหนักที่สุด
ภายในปี 2050 ผลผลิตทางเกษตรและการประมงซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศไทยจะลดลง เนื่องจากระยะเวลาทำการแจ้งอย่างมีประสิทธิผลที่น้อยลงและผลกระทบอื่นๆ ต่อทรัพยากรทางธรรมชาติเพราะอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้เหมือนเป็นโดมิโน่ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ และทรัพย์สิน
ประเทศที่มีความยากจนอยู่แล้วรวมถึงประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยจะได้รับผลกระทบหนักมากกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากประชากรในประเทศเหล่านี้มีรายได้หลักจากการงานกลางแจ้งและพึ่งพาทรัพยากรทางธรรมชาติมากกว่า และอาจมีวิธีในการปรับตัวทางด้านการเงินน้อยกว่าประเทศอื่นๆ
วันนี้ CCCL จะมาเล่าให้ทุกคนฟังว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทางด้านไหนได้บ้าง

ความเป็นอยู่และระยะการทำงาน
เมื่อต้นปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐและแคนาดาได้เผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรง โดยในรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา มีการคาดการว่ายอดผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนนั้นพุ่งสูงไปมากกว่า 500 ราย ในวันที่ 29 มิ.ย. เมืองลิตตันในรัฐเดียวกันได้บันทึกอุณหภูมิสูงสุดถึง 49.6 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิที่สูงขึ้นมีผลต่อคนไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนรายได้น้อยรับผลกระทบที่หนักกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เช่น การเกษตร ก่อสร้าง และพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติมากกว่ากลุ่มอื่น ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ง่ายขึ้น และเสี่ยงต่อโรคลมร้อน (Heat stroke) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต นอกจากนี้ ระยะการทำงานที่น้อยลงยังมีผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่อีกด้วย
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม:

โรคภัยไข้เจ็บ
อุณหภูมิที่สูงขึ้นนอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคลมร้อนแล้ว ยังทำให้ฤดูร้อนซึ่งเป็นฤดูแพร่เชื้อของต