มองปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับนักจิตวิทยา: สัมภาษณ์คุณปองพล ชุษณะโชติ
top of page

มองปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับนักจิตวิทยา: สัมภาษณ์คุณปองพล ชุษณะโชติ

สัมภาษณ์นายปองพล ชุษณะโชติ

นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการพิเศษ กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

สัมภาษณ์โดย อณัญญากรณ์ พูลศิลป์

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก Climate change สามารถแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1. เกิดขึ้นทันที 2. ค่อย ๆ เกิดขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นทันทีเช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว จะทำให้เราเกิดความรู้สึกเครียด กังวลจากการสูญเสียแบบกระทันหัน ซึ่งหลายครั้งจะนำไปสู่การตัดสินใจที่รวดเร็วเกินไป ส่วนปัญหาที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างอากาศร้อนจนทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น สุขภาพหรือรายได้ ปัญหาพวกนี้เวลาเราอยู่กับมันไปนาน ๆ เข้า จะเกิดความเคยชิน แต่เป็นความเคยชินที่เรารู้สึกเหมือนเราจัดการกับมันไม่ได้ เราไม่มีพลัง สุดท้ายเราจะรู้สึกหดหู่และจำใจยอมรับกับมันในที่สุด

สำหรับการแก้ปัญหาเราสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ


1. แก้ปัญหาที่ตัวเอง ต้องรู้จักการควบคุมอารมณ์โกรธ จัดการกับความเครียด ควบคู่ไปกับการเสริมพลังใจตนเอง จะตรงกับคำว่า resilience ที่เป็นความสามารถอดทนกับปัญหา สามารถให้กำลังใจและมองหาทางออกที่ดีให้กับตัวเองเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาได้


2. แก้ปัญหากับคนใกล้ตัว ในส่วนนี้สิ่งที่เราทำได้คือการสื่อสารที่ดี สื่อสารเชิงบวก รับฟังและพยายามหลีกเลี่ยงคำพูดหรือท่าทางที่ทำร้ายจิตใจ และคอยช่วยเหลือสนับสนุนให้แก่กันและ


3. การแก้ปัญหาพร้อมกับกลุ่มคนที่ใหญ่ขึ้น เช่น ชุมชน หรือกับสังคมที่ใหญ่ขึ้น สำหรับข้อนี้ ถ้าอยากให้มันมีประสิทธิภาพมาก ๆ เราจะต้องทำให้ทุกคนรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของปัญหา เพื่อที่จะได้เข้าใจผลกระทบอย่างแท้จริง และเมื่อได้ทำการลงมือแก้ปัญหา เราจะรู้สึกว่าฉันนี่แหละมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ มันจะเป็นความรู้สึกภูมิใจที่เกิดขึ้นมาได้


“ปัญหา Climate change ที่เกิดขึ้น ทุกคนสามารถรู้สึกโกรธได้ โมโหได้ แต่ทุกคนจะต้อง Balance การใช้เหตุผลกับอารมณ์ความรู้สึกให้ได้ เพื่อที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสมในการรับมือและแก้ไขปัญหาจริง ๆ”
bottom of page