SDGs: Climate Action: สัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร.ภศิชา ไชยแก้ว
top of page

SDGs: Climate Action: สัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร.ภศิชา ไชยแก้ว

อัปเดตเมื่อ 18 ก.ค. 2566

สัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร.ภศิชา ไชยแก้ว

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย อณัญญากรณ์ พูลศิลป์


ถ้าเรามองภาพ SDGs โดยให้เป้าหมายเรื่อง Climate action เป็นพระเอก จะเห็นว่า Climate change เป็นปัญหาที่ส่งกระทบต่อเป้าหมายที่เหลืออีก 16 ข้อ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องความยากจน (SDG No.2) เพราะว่ามันส่งผลถึงรูปแบบความสามารถในการรับมือกับปัญหาภาวะโลกรวน กลุ่มที่มีความเปราะบางทางเศรษฐกิจและสังคม มักจะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มที่มีกำลังจ่าย เนื่องจากกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำมีความสามารถในการฟื้นตัวช้ากว่า และการเข้าถึงปัจจัย 4 ได้น้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ หากได้รับผลกระทบที่เท่ากัน


Climate change ส่งผลต่อเรื่องของการศึกษาเช่นกัน (SDG No.4) ในเชิงวิชาการ นักวิจัยต้องปรับตัวต่อข้อมูลทางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างในเรื่องความแม่นยำของการพยากรณ์ต่าง ๆ ต้องรับมือกับข้อมูลที่มีความแปรผันสูงขึ้นมากจากอดีต แล้วก็ยังมีเรื่องเศรษฐกิจที่บ่อยครั้งคาดเดาไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะอายุเท่าไรเราก็ต้องให้ความสนใจกับเรื่องการศึกษาเป็นอันดับต้น ๆ อยู่ดี เพราะว่ามันเป็นหนทางที่จะพาเราหลุดพ้นจากปัญหาสิ่งแวดล้อมพวกนี้นี่แหละค่ะ


อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ความเท่าเทียมกันทางเพศ (SDG No.5) ในประเทศไทยเราอาจมองไม่เห็นความแตกต่างมากเท่าไหร่ เพราะวัฒนธรรมเราค่อนข้างเปิดกว้างยอมรับเรื่องเพศสภาพ แต่ว่าถ้าลองไปศึกษาดูในหลาย ๆ ประเทศ พบว่าเพศหญิงจะเป็นเพศที่ถูกกำหนดหน้าที่ให้ทำงานบ้าน นอกเหนือจากงานบ้านประจำแล้ว ถ้ามีภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เป็นผลจากภาวะโลกรวนขึ้น โดยมากจะเป็นผู้หญิงที่มาเก็บกวาดสิ่งที่เกิดขึ้นจากภัยเหล่านี้ ทำให้เสียโอกาสในด้านอื่นไปด้วย และหลายครั้งพื้นที่ของผู้หญิงในการตั้งนโยบาย เสนอความเห็น หรือร่วมคิดวิธีการแก้ปัญหา ก็มีไม่มากเท่าเพศชายค่ะ พูดถึงที่อื่นนะคะ ไม่ใช่ไทยแลนด์

สุดท้ายขอฝากไว้ค่ะ เมื่อเราสามารถวิเคราะห์ว่า Climate change เชื่อมโยงเหนียวแน่นกับเป้าหมายอื่นของ SDGs ในแง่มุมที่ลึกขึ้นอย่างไรบ้าง เราก็สามารถเริ่มลงมือจากเป้าหมายอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDG No.13 Climate action ได้เช่นเดียวกัน

ในมุมกลับกัน ที่ผ่านมา Climate change เป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาเรื่องผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการบริโภคแบบใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การรณรงค์ให้ประชากรโลกตระหนัก เรื่องของ responsible consumption and production (SDG No.12) ทำให้เราได้เห็นพัฒนาในด้านที่ดีนะคะ เช่น สินค้าที่ทำออกมาโดยมีแนวคิดรักษาสิ่งแวดล้อม สมัยก่อนสินค้าพวกนี้มีราคาที่สูงกว่าสินค้าทั่วไป แต่ว่าทุกวันนี้เราเริ่มเข้าถึงสินค้ารักษ์โลกได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็ถือเป็นการปรับตัวรับมือกับปัญหาที่ดี ฝั่งผู้บริโภคเองก็มีข้อมูลสำหรับเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเองและสังคม


สุดท้ายขอฝากไว้ค่ะ เมื่อเราสามารถวิเคราะห์ว่า Climate change เชื่อมโยงเหนียวแน่นกับเป้าหมายอื่นของ SDGs ในแง่มุมที่ลึกขึ้นอย่างไรบ้าง เราก็สามารถเริ่มลงมือจากเป้าหมายอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDG No.13 Climate action ได้เช่นเดียวกัน

bottom of page