เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยนคัดสรรภาพยนตร์ประเด็นโลกรวน 38 เรื่องจาก 16 ประเทศทั่วโลก
top of page

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยนคัดสรรภาพยนตร์ประเด็นโลกรวน 38 เรื่องจาก 16 ประเทศทั่วโลก


เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน (CCCL Film Festival) จัดเทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 3 ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ ภายในเทศกาลจะมีการจัดฉายหนังสั้นที่คัดเลือกจากหนังสั้นที่กว่า 11 ประเทศ ซึ่ง CCCL ได้คัดเลือกฉายหนังสั้นทั้งหมด 38 เรื่อง จากประเทศไทยและจาก 11 ประเทศทั่วโลก แบ่งออกเป็นหนังสั้นจากประเทศไทย 21 เรื่อง และหนังสั้นจากต่างประเทศ 16 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสารคดีสั้นที่ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 95 เรื่อง HAULOUT โดย Maxim Chakilev และ Evgenia Arbugaeva, หนังสั้นสไตล์จัดจ้านจากเทศกาลโลการ์โน WATCH THE FIRE OR BURN INSIDE IT โดย Janathan Vinel และ Caroline Poggi, หนังสั้นเรื่อง 'ผัดไทย' ผลงานล่าสุดจากวีรยา วิชยประเสริฐกุล ผู้ชนะรางวัลเทศกาล CCCL ครั้งที่ 1 และสารคดีขนาดยาวเรื่อง THE MAGNITUDE OF ALL THINGS โดย Jennifer Abbott ที่บอกเล่าเรื่องราวความสูญเสียคนรักและธรรมชาติของโลก


โดยโปรแกรมภาพยนตร์ในปีนี้จะพูดถึงเรื่องประเด็นที่หลากหลายทั้งเรื่องไฟป่า การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและธรรมชาติ ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ และมนุษย์และสัตว์ เป็นต้น นอกจากโปรแกรมภาพยนตร์ เทศกาลยังจัดกิจกรรมสนทนาประเด็นการเล่าเรื่องวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจัดนิทรรศการงานศิลปะโดยเยาวชนไทยภายใต้โครงการยุวทูต CCCL นำเสนอผลงานในรูปแบบจัดวาง บทกวี ภาพวาด งานวิดีโอ และบอร์ดเกม


เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยนปี 2566 จัดฉายระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ และระหว่างวันที่ 20-26 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ น่าน เชียงราย พะเยา อุดรธานี สงขลา และ ปัตตานี เปิดลงทะเบียนเข้าร่วมงานตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ทาง www.ccclfilmfestival.com


โปรแกรมภาพยนตร์

โปรแกรมหนังสั้น

BIN BOY

DIR. Bauddhayan Mukherji

ภาพยนตร์บอกเล่าเรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งที่ไม่ยอมลุกออกจากถังขยะหน้าบ้าน การกระทำของเขากลายเป็นที่สนใจของนักข่าวและชาวบ้านในละแวกบ้าน


CHINDWIN: ACROSS THE VALLEY OF GOLD AND AMBER

DIR. Rajesh Daniel

แม่น้ำชินด์วินซึ่งเป็นสาขาย่อยที่ใหญ่ที่สุดของแม่น้ำอิรวดีมีความสำคัญต่อชีวิตและการดำรงชีวิตของผู้คนประมาณหกล้านคน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ เช่น การทำเหมืองแร่ ส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง กว่า 2 ปีในการถ่ายทำ สารคดีเรื่องนี้นำเสนอมุมมองของผู้คนที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำการเปลี่ยนแปลงของของวิถีชีวิตพวกเขา


DEAR KHRAI, FROM NOWHERE (ไคร้เจ้าอยู่ไส)

DIR. กิตติคุณ เสนีวงศ์ ณ อยุธย

พันโขดแสนไคร้ ที่ๆ รายล้อมไปด้วยโขดหลักพัน และต้นไคร้หลักแสน ตั้งอยู่ที่ บ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ต้นไคร้และแม่น้ำโขงไหลพัดพาความสุข ความหลากหลายทางอาหาร และระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ให้กับชีวิตผู้คนที่นั้นมาอย่างยาวนาน แต่ในวันหนึ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไป เมื่อราชินีแห่งลุ่มนํ้าอย่างต้นไคร้ หายไปอย่างยากที่จะย้อนกลั


ESSENCE (MADEN)

DIR. Salih Özderya

ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งในหมู่บ้านเล็ก ๆ บนภูเขาที่เงียบสงบ ที่นั่นเขาเผชิญกับการเข้ามาของบางสิ่งบางอย่างที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้า


FALLENCITY (เมืองล่ม)

DIR. ณภัทร ขุนล่ำ

มีตำนานกล่าวขานถึงเมืองๆ หนึ่ง... มีตำนานกล่าวขานถึงเมืองๆ หนึ่ง... มีตำนานกล่าวขานถึงเมืองๆ หนึ่ง…


FINDING THE SPIRIT OF BER BLA TU (ค้นหาจิตวิญญาณเบ๊อะบละตู)

DIRS. ศุภชัย เสมาคีรีกุล, รัชชา สถิตทรงธรรม, อำนวย เสือแสงเสริม, สุวิทย์ อุดมรักพันธ์พง (กลุ่ม R2S)

ชุมชนบ้านเบ๊อะบละตูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดตาก ซึ่งขณะนี้คนบ้านเบ๊อะบละตูกำลังเผชิญกับผลกระทบจากนโยบายการจัดการป่าของรัฐที่กระทบวิถีชีวิตและการทำเกษตรกรรมบนฐานวัฒนธรรมแบบไร่หมุนเวียนของชาวบ้านที่นี่ ตลอดจนกระทั่งการมีสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายชีวภาพ ตลอดจนการปนเปื้อนของสารเคมีที่ทำลายสุขภาพด้วย ทั้งที่พวกเขาควรมีสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง มีความมั่นคงในอาหาร และชีวิต ตลอดจนกระทั่งมีสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย


FIRST DRAFT

DIR. ณพวัฒน์ ลิขิตวงศ์

‘ตั๋ง’ เด็กฝึกงานห้องอัดเสียงแห่งหนึ่งกำลังเตรียมไฟล์เพลงให้กับหัวหน้าเพื่อนำเสนอลูกค้า ซึ่งเพลงที่ห้องอัดกำลังทำเป็นเพลงรณรงค์เกี่ยวกับโลกร้อน ทว่า ตั๋งกลับพบว่ามีข้อมูลหลายอย่างในเนื้อเพลงที่ไม่ถูกต้อง เขาต้องพยายามบอกหัวหน้าให้แก้ไขก่อนที่ลูกค้าจะใกล้เข้ามาฟังดราฟท์แรกในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า


FROM DREAMS TO DUST

DIR. Stephanie Tangkilisan, Muhammad Fadli

สารคดีบอกเล่าเรื่องราวผ่านสายตาของ ‘โพลา’ คนงานเหมืองนิกเกิลและหัวหน้าครอบครัวจากอินโดนีเซีย ที่ต้องเสี่ยงชีวิตหาเลี้ยงครอบครัว ละทิ้งความฝัน เพื่ออนาคตของลูกๆ ในทุกๆ วัน เขาต้องทำงานในเหมืองซึ่งเดิมทีเคยเป็นหมู่บ้านชาวประมง แต่ปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่ขุดแร่อันเป็นองค์ประกอบหลักในแบตเตอรี่หมุนเวียนที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า สารคดีเรื่องนี้นำเสนอด้านมืดของเทคโนโลยีสีเขียวและราคาที่ชาวบ้านต้องจ่า


FROM DUST TILL DUST: PART I (ละอองธุลี)

DIR. ธนกฤต กฤษณยรรยง

สารคดีเรื่องราวของละอองธุลีที่มองไม่เห็น ชีวิตของเหล่ามนุษย์ชาวไทย ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่ห้วงฝุ่น ผู้ผลักดันกฎหมายอากาศสะอาด ผู้ที่สูญเสียมิตรไปจากโรคมะเร็งปอดด้วยมลพิษทางอากาศ ผู้เกี่ยวข้องศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมทั้งหลายในดินแดนแห่งฝุ่น ไปถึงเรื่องเล่าอุปมาถึง ‘ละอองธุลี’ ในจินตนาการภาพชีวิตเสมือนทับซ้อนของคนไทยที่ใช้ชีวิตในดินแดนแห่งวัฏจักรโลกร้อน หมุนเวียนครบรอบซ้ำแล้วซํ้าอีก ไม่เลือนหายไปแห่งนี้

I WAS JUST A CHILD

DIR. Breech Asher Harani

ภาพยนตร์ใช้ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกเงาแบบโบราณในการบอกเล่าเรื่องราวของผู้คนในชุมชนที่ต้องเผชิญความทุกข์ทรมานทางจิตใจและร่างกายหลังจากเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นโบพาที่พัดถล่มฟิลิปปินส์ เมื่อปี พ.ศ. 2555 ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอุณหภูมินํ้าทะเลที่สูงขึ้น พายุไต้ฝุ่นจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหมายหมุดที่กำลังเตือนเราว่าสุขภาพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับสุขภาพของโล


JAL PRALAY

DIR. Yash Joha

สารคดีนำเสนอภาพเหตุการณ์นํ้าท่วมและดินถล่มอย่างรุนแรงในเมืองเคดาร์นาถ ประเทศอินเดีย ในปี 2556 ซึ่งภัยพิบัตินี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน


LOUNG: WANT TO GO OUTSIDE (หลง อยากออกไปข้างนอก)

DIR. ตำลึง สองเมือง

เมื่อเจ้าแมวชื่อ หลง อยากออกจากบ้าน แต่การใช้ชีวิตของเหล่าทาสแมวกำลังจะทำให้เจ้าหลงมองโลกที่อยู่นอกบ้านเปลี่ยนไป


MULTIVERSE OF MEKONG (แม่โขง - นฤมิต)

DIR. ปฏิภาณ บุณฑริก Patiparn Boontarig

Multiverse of Mekong (แม่โขง-นฤมิต) เป็นภาพนตร์สารคดีกึ่งทดลอง ที่นำเอาชุดข้อมูล (Data) ในมิติต่างๆ จากทั้งภาพถ่ายดาวเทียม, ข้อมูลใน Internet และ ภาพข่าวจากสถานีโทรทัศน์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มาเรียบเรียง ผ่านการเขียนโปรแกรม และใช้ A.I. ในการประมวลให้เกิดเป็นภาพ เพื่อรวมหลักฐานที่เห็นได้ชัดเจน และสะท้อนมุมมองหลายมิติของผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงไปของแม่น้ำโขง ตั้งแต่ที่เขื่อนตัวแรกได้ถูกสร้างขึ้น.. ตั้งแต่อดีต - ปัจจุบัน - อนาคต


NATURE LULLABY

DIR. จิรภัทร วีณะคุปต์ Jiraphat Vinagupta

เสียงร้องจากไพรที่เฝ้ารอ ขอต่อใครให้ได้ฟัง///////////////////////////////////////


ONE USE (เล็กน้อยมหาศาล)

DIR. ธนากร ยังมีสุข Thanakorn Yangmeesuk

ในโลกอนาคตอันใกล้ ผีที่มีชีวิตขึ้นมาอย่างไร้เป้าหมาย ต้องเดินทางตามหาเป้าหมายการมีอยู่ของตนเองผ่านกาลเวลาที่ค่อย ๆ เคลื่อนไป โดยที่มันไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก


PAD THAI (ผัดไทย)

DIR. วีรยา วิชยประเสริฐกุล Weeraya Vichayaprasertkul

สารคดีสะท้อนปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านเมนู “ผัดไทย” หนึ่งในสุดยอดอาหารไทยที่คนทั่วโลกต่างรู้จัก


PANARE, SHIP ON THE SHORE

DIR. (ปะนาเระ เรือเล็กอาจจะไม่ได้ออกจากฝั่ง)ณภัทร เวชชศาสตร์ Napat Wesshasartar

ชุมชนประมงพื้นบ้านปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ที่ไม่มีไร่ไม่มีสวน ข้างหน้าบ้านมีเพียงแค่หาดทรายและพื้นน้ำอันกว้างไกล ทำให้อาชีพหลักของชุมชนคือการทำประมงเพียงเท่านั้น สารคดีเรื่อง “ปะนาเระ เรือเล็กอาจจะไม่ได้ออกจากฝั่ง” จะพาไปสำรวจมุมมองของคนในชุมชน ที่มีต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ว่าพวกเขาประสบปัญหาอย่างไร และจะปรับตัวเพื่อรักษาอาชีพประมงพื้นบ้านที่เปรียบดั่งกระดูกสันหลังของพวกเขาให้อยู่รอดต่อไปได้อย่างไร


POET OF THE WILD (กวีแห่งพงไพร)

DIR. โชติพัฒน์ ศรีวัฒนธันยากร, Shotipath Sriwattanatanyakorn

กวีแห่งพงไพรบอกเล่าเรื่องราวสองเหตุการณ์ระหว่างตึกสองตึกที่เฝ้ามองดูผู้คน การใช้ชีวิต ธรรมชาติและมนุษย์ และมองไปถึงความห่างเหินของชีวิตทางด้านจิตวิญญาณ ร้อยเรียงไปกับการบอกเรื่องราวของคน ๆ หนึ่งที่อยากจะหนีความวุ่นวายและความเร่งรีบของกรุงเทพฯ ที่ซึ่งทำให้เขานึกถึงคำสัญญาที่ให้ไว้กับหญิงสาวเมื่อตอนทั้งสองยังอยู่ด้วยกัน


SCREAM FOR ICE

DIR. Emir Aytemür

ดวงอาทิตย์ส่องไสว น้ำแข็งละลาย หมีขั้วโลกบากบั่นอยู่ด้วยตัวเอง เด็กร้องส่งเสียงงอแง! บทกวีไฮกุที่คุณอ่านด้านบนเป็นแกนหลักและใช้เป็นรูปแบบการเล่าเรื่องของแอนิเมชัน "SCREAM FOR ICE"


SPIRIT OF THE FOREST

DIRS. Nandini Rao, Nirupa Rao, Kalp Sanghvi

เมื่อเด็กหญิงเข้าไปรบกวนจิตวิญญาณของป่าในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ใกล้หมู่บ้านของเธอ การผจญภัยเพื่อสำรวจจุดกำเนิดของดินแดนหนองน้ำโบราณแห่งนี้ ตั้งแต่มหาทวีปกอนด์วานาจนถึงยุคของเธอจึงก่อกำเนิดขึ้น


STARS ON THE SEA

DIR. JANG Seung-wook

มันก็เป็นเพียงวันธรรมดาอีกวันที่น้ำท่วมเจิ่งนองไปทั่วบ้าน


THE ACTUAL

DIR. กรองกาญจน์ เกี๋ยงภาลัก Krongkan Kiangphalak

กะเบอะดิน’ ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บนยอดดอยสูงในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความขึ้นชื่อเรื่อง ‘แหล่งน้ำ’ ผู้คนในชุมชนอยู่อาศัยอย่างพึ่งพากันด้วยความเข้มแข็ง แต่แล้วพวกเขาก็ต้องพบเจอเรื่องราวที่ทำให้ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อรักษา ’พื้นที่ป่า’ อันเป็นเหมือนบ้านของพวกเขา


THE COMMUNITY LIVELIHOOD WITH THE CONCERN OF FLUORITE MINING (วิถีชุมชนกับความกังวลจากเหมืองแร่ฟลูออไรต์)

DIR. กฤษดาพันธ์ หงส์อาจหาญ Kritsadapan Hongarthan, ชเลฝัน ดิษฐ์ผู้ดี Chalefun Ditphudee

บ้านห้วยมะกอกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุมชนกำลังได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่ฟลูออไรต์ อำเภอแม่ลาน้อย ที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ และทางโครงการที่ขอสัมปทานเหมืองแร่นี้นั้น กำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการจัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำไปประกอบรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม EIA จากข้อพิพาทนี้ทำให้ชาวบ้านร่วมกันต่อสู้และคัดค้านโครงการดังกล่าว


THE FARMER (ชาวนานักวิจัย)

DIR. สิริธารณ์ เลาวกุล Sirithan Laowakul

เชง คือ นักการเมืองท้องถิ่นรุ่นใหม่ที่จังหวัดนครสวรรค์ เมืองต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา เธอเคยประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิต ปี 2554 น้ำท่วมบ้านของเธอ และชาวเมืองนครสวรรค์นานนับเดือน ในฐานะช่างภาพสารคดี ในคราบนักการเมืองท้องถิ่น เชงออกสำรวจเรื่องราวของกลุ่มชาวนาที่พยายามปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนต่อสภาพอากาศแปรปรวน ความแห้งแล้ง และทนต่อน้ำท่วมขัง ทว่าความพยายามของคนกลุ่มนี้กลับเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศ ซึ่งถ้ารัฐบาลดำเนินคดีกับชาวนานักปรับปรุงพันธุ์ข้าวกลุ่มนี้ ทุกคนจะคิดคุก!


THE FLOOD

DIRS. Marc Aziz Ressang, Nathaniel Brown สารคดีถ่ายทอดชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านใน 3 หมู่บ้านบนเกาะชวากลางของประเทศอินโดนีเซีย ที่ปัจจุบันหมู่บ้านเหล่านั้นกำลังจมลงสู่ทะเลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้d


THE FOOD SUBSCRIPTION (ผูกปิ่นโต)

DIR. นิชาภา นิศาบดี

ความคิดและชีวิตของหญิงสาวที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโลกและย้อนกลับสมดุลโลกด้วยการกินผัก งดเนื้อสัตว์ และเปิดร้านอาหารมังสวิรัติเล็ก ๆ ในเชียงใหม่ ที่มาพร้อมกับบริการผูกปิ่นโตที่สะท้อนการเรียนรู้เรื่องราวชีวิตและโลกอีกครั้ง

THE ROUND LAKE

DIR. Zayan Agha

ภาพยนตร์เล่าเรื่อง ‘ฮัฟซา’ และ ‘โนรีย’ สองพี่น้อง ที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่ไม่มีน้ำประปาใช้ พวกเขาจึงต้องต่อสู้เพื่อหาน้ำเพื่อประทังชีวิต


THE SPRAYER (SAMPASH)

DIR. Farnoosh Abedi

ในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยกองทัพทำลายล้าง ‘สเปรเยอร์’ ไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะปลูกพืชไม่ว่าจะในที่สาธารณะหรือที่ส่วนตัว


TO DUST AND DROUGHT (ดิน น้ำ จม ฝุ่น)

DIR. จิตตินนท์ สัจจกุลวนิชย์ Jittinont Sujjakulvanich

หลังจากที่นนท์ได้ตื่นขึ้นมาจากฝันของโลกอนาคตที่กำลังล่มสลาย และเห็นภาพแม่ของเขาตายลงต่อหน้าต่อตา เขาก็ได้พบว่าฝันของเขาเป็นเพียงเหตุการณ์จำลองจากอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการดึงสิ่งที่ผู้ใช้ผูกพันที่สุดออกมาจากความทรงจำ เขาจึงตัดสินใจซื้อ VR ชิ้นนั้นมาเพื่อทำให้เขาได้เห็นภาพของแม่ที่ได้จากเขาไปตั้งแต่วัยเด็ก


TOO FAR TOO CLOSE

DIRS. สุทธิรัก สิงห์ชารี Suttiruk Singcharee, ณัฐธิดา เกียรติดำเนินงาม Nattida Kiatdamnoenngam

นักศึกษาชมรมทำหนังคณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ตัดสินใจเข้าร่วมงานประกวดการแข่งขันหนังสั้นในหัวข้อ “ร่วมกัน รักษาโลก รักษาบ้านของเรา” ทั้งๆ ที่พวกเขาจะไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย เหล่านักศึกษาจึงได้ตัดสินใจทำการทดลองใช้ชีวิตในโลกที่ภาวะโลกร้อนนั้นถึงขั้นวิกฤต


UNDERNEATH

DIR. ศิวกร ศรีคำม่วม Siwakorn srikhammoum, สุพิชญา ธรรมแสงโชติ Supitchaya thamsaengchote

อัฟฟาและเซล สองช่างซ่อมเพื่อนซี้ที่อาศัยอยู่ในเมืองลอยน้ำที่เกิดจากการรวมตัวกันของผู้รอดชีวิตจากน้ำท่วมใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไป เมืองก็เข้าใกล้จุดจบมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งวันหนึ่งมีชาวมหาสมุทรเข้ามาเสนอวิธีที่จะทำให้มนุษย์กลายร่างเป็นชาวมหาสมุทรและสามารถหายใจใต้น้ำได้ และนั่นทำให้อัฟฟา เซล และชาวเมืองต้องตัดสินใจทางเลือกครั้งสำคัญของพวกเขา


US (ונחנא)

DIRS. Nika Zhukova, Eli Hofman

แอนิเมชันสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติผ่านท่วงท่าการเต้นรำที่นำเสนอความเห็นแก่ตัวมนุษย์และผลที่ตามมา


WHO WILL MAKE CHANGE?

DIR. ปั่นเงิน พิจิตบรรจง

สารคดีสัมภาษณ์เพื่อนๆ ประเด็นเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน

WILDFIRE (DADELO)

DIR. Shyam Karki

แพนด้าแดงสายพันธุ์หายากต้องไร้บ้านจากเหตุการณ์ไฟป่าในหุบเขาตอนกลางของเนปาลที่ยาวนานต่อเนื่อง 16 วัน เหตุการณ์นี้เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าวิกฤตสภาพอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ปราณีทั้งคนและสัตว์

โปรแกรมพิเศษหนังสั้น

BIG TRASH SMALL TOWN

ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา Supavit Sirisawadwattana

หลังจาก "จีน" ปิดประตูตายการนำเข้าขยะเศษพลาสติกเพื่อมารีไซเคิลจากทั่วโลก จึงปัญหาทางมลพิษครั้งใหญ่ ขยะเหล่านั้นจึงเปลี่ยนจุดหมายมายังไทย จนอาชีพซาเล้งจะหายไป และไทยจะกลายเป็นถังขยะใบใหม่ของโลก


WATCH THE FIRE OR BURN INSIDE IT

Caroline Poggi, Jonathan Vinel

ณ เกาะคอร์ซิกา ผู้หญิงคนหนึ่งเลือกที่จะดูแลโลกด้วยการเผา


HAULOUT

Evgenia Arbugaeva, Maxim Arbugaev

ณ กระท่อมแห่งหนึ่งบนชายฝั่งอันห่างไกลในแถบไซบีเรียนอาร์กติก ชายคนหนึ่งกำลังสังเกตการณ์การรวมกลุ่มของบางสิ่งบางอย่าง ทว่าด้วยอุณหภูมิของนํ้าทะเลและสภาพภูมิอากาศที่สูงขึ้น มันนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ยากเกินกว่าจะลืมลง


โปรแกรมพิเศษภาพยนตร์ขนาดยาว

THE MAGNITUDE OF ALL THINGS

DIR. Jennifer Abbott

หลังจากสูญเสียพี่สาวซึ่งจากไปด้วยโรคมะเร็ง ผู้กำกับภาพยนตร์ เจนนิเฟอร์ แอ็บบ็อตต์ต้องรับมือกับความโศกเศร้าจากการสูญเสียของบุคคลอันเป็นที่รัก จนนำไปสู่ความโศกเศร้าและการเคลื่อนไหวประเด็นสภาพอากาศที่กำลังแปรปรวน สารคดีเรื่อง The Magnitude of All Things ร้อยเรียงเรื่องราวการเคลื่อนไหวต่อสู้ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสำรวจห้วงอารมณ์มนุษย์ที่ต้องรับมือกับการสูญเสียระบบนิเวศของโลกใบนี้


เกี่ยวกับเทศกาล CCCL

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน (CCCL Film Festival) เริ่มก่อตั้งใน พ.ศ. 2562 มีจุดประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับเยาวชนและชุมชนในประเทศไทยได้ร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะผ่านสื่อภาพยนตร์สั้นที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผู้คนและชุมชนและเสนอแนวทางการแก้ไข ปรับตัวและรับมือต่อวิกฤตินี้ ทางเทศกาลฯ จัดกิจกรรมตลอดทั้งปีไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมชิงทุนสนับสนุนผลิตภาพยนตร์สั้น กิจกรรมพัฒนางานศิลปะของยุวทูต CCCL และกิจกรรมเสวนาประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาพยนตร์เพื่อมุ่งสร้างความตระหนักรู้และแรงบันดาลใจให้สังคมมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและการรับมือต่อวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

bottom of page